วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

 เออเพื่อนๆครับผมขอแนะนำบล็อกที่รวบรวมผลงานหนังสือนิทานอีบุ้ค (e-book) หรือหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ ผลงานทั้งหมดจัดทำขึ้นโดยนักศึกษาที่เรียนในรายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสานสนเทศเพื่อการศึกษา  สอนโดย อาจารย์อัจฉริยะ  วะทา  มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม  โดยบล็อกนี้มีชื่อว่า atinno.blogspot.com
มีหนังสือนิทานอีบุ้คที่เป็นฝีมือของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ในหลายๆ สาขาวิชา  หลายเรื่องน่าอ่านและสามารถโหลดเก็บไว้หรือนำไปสอนได้ด้วยนะครับ  

     นอกจากนี้ก็ยังรวมผลงานการจัดทำบล็อกของนักศึกษาแต่ละสาขาวิชา  จัดทำเพื่อเผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับความรู้ที่น่าสนใจไว้มากมาย

     อย่าลืมนะครับ  เป็นเว็บที่อยากจะแนะนำ  เหมาะสำหรับผู้ที่อยากจะทำหนังสือแบบทำมือและทำเป็นอีบุ้ค (e-book) ด้วย  อย่าลืมบล็อก  atinno.blogspot.com    ถ้าทุกคนอยากมีสื่อการเรียนการสอนที่ดีไว้ใช้ในอนาคตข้างหน้าละก็ต้อง atinno.blogspot.com  เท่านั้นนะครับ..ฝากไว้ด้วยแล้วกันทุกๆคน++ถ้ามีปัญหาไม่เข้าใจหรือสงสัยอะไรก็ติดต่อที่ผมได้นะครับ ที่ facebook    suchat  phootom   หรือโทรศัพท์  0862385066  ขอบคุณครับ  

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

ประโยชน์ของดนตรีสากล



มารู้จักประโยชน์ของดนตรีสากลกันนะครับ


ประโยชน์ของดนตรีสากล




กระตุ้น เสริมสร้าง พัฒนาทักษะการเรียนรู้ และความจำ


ผ่อนคลายความตึงเครียด

 
มีมุมมองในเชิงบวก

 
เสริมสร้างสมาธิ


พัฒนาการด้านสังคม และการเคลื่อนไหว

ครับประโยชน์หลักๆของดนตรีสากลก็มีอยู่  5  ข้อนะครับ

ผู้จัดทำ  นาย สุชาติ ภูต้อม  ขอขอบคุณครับ

ทฤษฎีดนตรีสากล ระดับเสียง



ระดับเสียง




ด้วยการบันทึกโน้ตทางดนตรีเราสามารถทำให้เราทราบถึงระดับเสียง(Pith)หรือความแตกต่างของเสียงที่แน่นอนได้ ในการบันทึกเสียงโดยใช้บรรทัด5เส้น(Staff)ซึ่งจะแสดงให้เห็นความสูงต่ำของเสียงชัดเจน โดยการวางตัวโน้ตต่างๆไว้บนบรรทัด5เส้น ซึ่งประกอบด้วย เส้น5เส้น 4 ช่องดังนี้

 
ภาพแสดงบรรทัด 5 เส้น (Staff)


จากบรรทัด 5 เส้น (Staff) ข้างต้นซึ่งหมายถึงเส้นตรง 5 เส้น ที่ลากขนานกันในแนวนอนเราสามารถจำแนกระดับเสียงสูง–ต่ำ ได้อย่างเป็นรูปธรรมได้ดังนี้



จากข้างต้นเราจะเห็นว่ามีตัวโน้ตที่บันทึกอยู่บนบรรทัด 5 เสียงมีเพียง 11 ตัวโน้ตหรือ 11เสียงเท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้วผู้ประพันธ์เพลงหรือคีตกวีต่าง ๆ ได้เขียนเพลงซึ่งต้องมีระดับเสียงที่สูงหรือต่ำกว่าโน้ตทั้ง 11 ตัวดังกล่าวแน่นอน เพื่อให้การบันทึกเสียงตัวโน้ตดนตรีได้เป็นไปตามความต้องการของผู้ประพันธ์เพลงก็จึงได้มีการคิดวิธีการที่จะทำให้การบันทึกโน้ตได้มากขึ้นจึงใช้ “เส้นน้อย” (ledger line) มาบันทึกโดยวิธีการขีดเส้นตรงทับตัวโน้ตและให้ตัวโน้ตอยู่ระหว่างช่องจึงทำให้เสียงนั้นสูง – ต่ำได้ตามต้องการ ดังตัวอย่าง

 
ภาพแสดงเส้นน้อย(ledger lines)


จากข้างต้นที่กล่าวมาเป็นส่วนที่เกี่ยวกับตัวโน้ต ลักษณะตัวโน้ต และตำแหน่งที่อยู่ของตัวโน้ตเท่านั้น ซึ่งยังไม่เพียงพอที่เราจะระบุได้ว่าโน้ตตัวนั้น ๆ มีระดับเสียงชื่อว่าอะไรมีความสูงต่ำระดับใด จึงได้มีการกำหนดกุญแจประจำหลักขึ้นเพื่อที่ใช้เป็นตัวระบุชื่อของตัวโน้ตได้

ผู้จัดทำ นาย สุชาติ  ภูต้อม  ขอขอบคุณครับ

ทฤษฎีดนตรีเบื้องต้น การเพิ่มอัตราจังหวะตัวโน๊ต และตัวหยุด




การเพิ่มอัตราจังหวะตัวโน๊ต และตัวหยุด




โดยปกติอัตราจังหวะของตัวโน้ตมีค่าผันแปรตามเครื่องหมายกำหนดจังหวะดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ด้วยขีดจำกัดของอัตราจังหวะที่ถูกกำหนดโดยเครื่องหมายกำหนดจังหวะ จึงต้องมีวิธีการเพิ่มจังหวะให้กับตัวโน้ตและตัวหยุด เพื่อเพิ่มความสามารถให้กับตัวโน้ตและตัวหยุด นอกจากนี้ยังเพิ่มสีสันของทำนองเพลงด้วยการเพิ่มอัตราจังหวะมีหลายวิธีดังนี้


  1. การโยงเสียง(Ties)
  2. การเพิ่มอัตราจังหวะโดยการใช้เสียงโยงเสียงที่มีลักษณะเป็นเส้นโค้งใช้กับตัวโน้ตที่มีระดับเสียงเดียวกันเดียวกันเท่านั้น ใช้ได้ 2 กรณี คือ ใช้โยงเสียงตัวโน้ตภายในห้องเดียวกันหรือโยงเสียงต่างห้องก็ได้ มีความหมายคล้ายกับเครื่องหมายบวก (+) การเขียนเส้นโยงเสียงให้เขียนเส้นโยงที่ตำแหน่งหัวตัวโน้ต ส่วนตัวหยุดไม่ต้องใช้เครื่องหมายโยงเสียง เช่น



    หมายเหตุ 
    มีเครื่องหมายอีกลักษณะหนึ่งที่คล้ายกับการโยงเสียง คือเครื่องหมายสเลอ (Slur)เครื่องหมายสเลอเป็นเส้นโค้งมีไว้สำหรับเชื่อมกลุ่มตัวโน้ตที่ต่างระดับกันหรือคนละเสียงเพียงเพื่อต้องการให้เล่นโน้ตที่มีเครื่องหมายสเลอนี้คล่อมอยู่ให้เสียงต่อเนื่องกัน

                                             

  3. การประจุด(Dots)
  4. เป็นเพิ่มอัตราจังหวะของตัวโน้ตโดยการประจุด(.)เพิ่มเข้าไปด้านหลังของตัวโน้ตตัวที่ต้องการเพิ่มอัตราจังหวะ จุด(.)ที่นำมาประหลังตัวโน้ตจะมีค่าเป็นครึ่งหนึ่งของตัวโน้ตข้างหน้าแล้วรวมกันเช่น

     
    ** ถ้ามีจุดสองจุด จุดตัวหลังจะมีค่าเป็นครึ่งหนึ่งของจุดตัวแรก 



    การเปรียบเทียบระหว่างตัวโน้ตประจุดและตัวหยุดตัวหยุดประจุด

  5. เครื่องหมายตาไก่หรือศูนย์(Fermata)
  6. เป็นเครื่องหมายทางดนตรีที่มีลักษณะคล้ายตาไก่ คนไทยเราก็เลยนิยมเรียกง่าย ๆ ตามลักษณะที่เห็นว่า “ตาไก่” ใช้สำหรับเขียนกำกับตัวโน้ตตัวใดตัวหนึ่งที่ผู้แต่งต้องการให้ยืดเสียงออกตามความพอใจ การเขียนเครื่องหมายตาไก่นิยมเขียนกำกับไว้ที่หัวตัวโน้ต และจะมีผลกับตัวโน้ตตัวนั้น ๆ ไม่ว่าตัวโน้ตลักษณะใดก็ตาม

ผูจัดทำ  นาย สุชาติ ภูต้อม ขอขอบคุณครับ

ทฤษฎีดนตรีเบื้องต้น กุญแจประจำหลัก



กุญแจประจำหลัก



กุญแจประจำหลัก (Clef) ถือว่าเป็นเครื่องหมายทางดนตรีที่สำคัญ เพื่อใช้ในการกำหนดหรือบงชี้ว่าตัวโน้ตแต่ละตัวมีชื่อเรียกว่าอย่างไร ในหนังสือเล่มนี้จะขอกล่าวถึงกุญแจประจำหลักที่สำคัญเพียง 2 กุญแจเท่านั้น คือ กุญแจประจำหลัก G (G Clef) และกุญแจประจำหลัก F (F Clef) ซึ่งทั้ง 2 กุญแจ มีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปรากฎให้เห็นและใช้กันจนถึงปัจจุบัน ทั้ง 2 กุญแจนี้มักเรียกกันสั้น ๆ จนติดปากว่า กุญแจซอล และกุญแจฟา



  1. กุญแจซอล ฺ
    เป็นเครื่องหมายประจำหลักที่ใช้กันมากสำหรับบันทึกระดับเสียงของเครื่องดนตรีหรือเสียงร้องที่มีระดับกลางถึงสูง ภาษาอังกฤษเรียก “จี เคลฟ”(G Clef) หรือ “เทร็บเบิ้ล เครฟ” (Treble Clef) โดยทั่วไปเรียกว่า “กุญแจซอล” ในการเขียนกุญแจซอลบันทึกโดยหัวกุญแจให้คาบเส้นที่ 2 ของบรรทัด 5 เส้น โน้ตทุกตัวที่คาบอยู่บนเส้นที่ 2 ของบรรทัด 5 เส้น จะมีเสียงเดียวกับชื่อกุญแจคือ “ซอล” ดังตัวอย่าง


    โดยปกติแล้วในทางดนตรีได้มีนักปราชญ์ทางดนตรีได้กำหนดชื่อเรียกระดับเสียงตัวโน้ตและได้ถือปฏิบัติสืบเนื่องกันต่อมาจนถึงปัจจุบัน โดยจัดเรียงจากระดับเสียงต่ำไปหาสูง 7 เสียงดังนี้ C D E F G A B C ไม่ว่าระดับเสียงจะสูงหรือต่ำก็คงมีชื่อกำกับเพียง 7 เสียงหลัก ๆ เท่านั้น เพียงแต่การบันทึกโน้ตลงบนบรรทัด 5 เส้น เสียงที่เรียกชื่อเหมือนกัน แต่ระดับเสียงต่างกันเรียกว่ามีระยะขั้นคู่แปดระดับเสียงที่ต่างกันเราเรียกว่า “อ๊อคเทฟ” (Octave)


    จากข้างต้นเมื่อเราทราบชื่อของตัวโน้ตที่เรียงลำดับจากเสียงต่ำไปเสียงสูงแล้วและยังทราบชื่อตัวโน้ตที่คาบอยู่บนเส้นที่ 2 ของกุญแจซอลคือตัว “ซอล” แล้ว เราสามารถทราบชื่อโน้ตตัวอื่น ๆ ได้โดยการไล่เสียงขึ้น และลงตามลำดับได้ดังนี้


  2. กุญแจฟา
    เป็นเครื่องหมายประจำหลักที่ใช้กันมากสำหรับบันทึกระดับเสียงของเครื่องดนตรีหรือเสียงร้องที่มีระดับต่ำ ภาษาอังกฤษเรียก “เอฟ เคลฟ”(F Clef) หรือ “เบส เครฟ” (Bass Clef) โดยทั่ว ๆ ไปมักเรียกว่า “กุญแจฟา” ในการเขียนกุญแจฟาเขียนโดยหัวกุญแจให้คาบเส้นที่ 4 ของบรรทัด 5เส้น โน้ตทุกตัวที่คาบอยู่บนเส้นที่ 4 ของบรรทัด 5 เส้น จะมีเสียงเดียวกับชื่อกุญแจคือ “ฟา” ดังตัวอย่าง


    จากข้างต้นเมื่อเราทราบชื่อของตัวโน้ตที่เรียงลำดับจากเสียงต่ำไปเสียงสูงแล้วและยังทราบชื่อตัวโน้ตที่คาบอยู่บนเส้นที่ 4 ของกุญแจฟาคือตัว “ฟา” แล้วเราสามารถทราบชื่อโน้ตตัว อื่น ๆ ที่บันทึกด้วยกุญแจฟาได้โดยการไล่เสียงขึ้น และลงตามลำดับได้ดังนี้


    นอกจากการบันทึกโน้ตลงในบรรทัด 5 เส้นที่แยกระหว่างกุญแจซอลกับกุญแจฟาแล้วยังมีการบันทึกโน้ตอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า “บรรทัดรวม” (Grand Staff) โดยการนำเอากุญแจซอลและกุญแจฟาบันทึกลงพร้อม ๆ กัน บรรทัดประเภทนี้มักใช้สำหรับการเขียนโน้ตให้เปียโนบรรเลง


    ผู้จัดทำ  นาย สุชาติ  ภูต้อม ขอขอบคุณครับ

มาทำความรู้จักเครื่องหมายแปลงเสียงกัน




เครื่องหมายแปลงเสียง


เป็นสัญลักษณ์ทางดนตรีที่ใช้เขียนกำกับหน้าตัวโน้ตหรือหลังกุญแจประจำหลักเมื่อต้องการแปลงเสียงให้สูงขึ้น ต่ำลง หรือกลับมาเป็นเสียงปกติเหมือนเดิม เครื่องหมายแปลงเสียงประกอบด้วย 5 ชนิด คือ


  1. เครื่องหมายชาร์ป (Sharp) หรือมีไว้สำหรับแปลงเสียงของตัวโน้ตให้มีระดับเสียงสูงขึ้น ½ เสียง (semitone) เช่น


  2. เครื่องหมายแฟล็ท (Flat) หรือมีไว้สำหรับแปลงเสียงของตัวโน้ตให้มีระดับเสียงต่ำหรือลดลง ½ เสียง (semitone) เช่น


  3. เครื่องหมายเนเจอรัล (Natural) หรือไว้สำหรับแปลงเสียงของตัวโน้ตที่มีระดับสูงขึ้นหรือต่ำลง ½ เสียง (semitone) ให้กลับมาเป็นเสียงปกติ เช่น


  4. เครื่องหมายดับเบิ้ลชาร์ป (double sharp) หรือมีไว้สำหรับแปลงเสียงของตัวโน้ตให้มีระดับเสียงสูงขึ้นสองครึ่งเสียง หรือ 1 เสียงเต็ม (tone) เช่น


  5. เครื่องหมายดับเบิ้ลแฟล็ท (Double flat) หรือ มีไว้สำหรับแปลงเสียงของตัวโน้ตให้มีระดับต่ำลงสองครึ่งเสียง หรือ 1 เสียงเต็ม เช่น


    หมายเหตุ
  • การเขียนเครื่องหมายแปลงเสียงทั้ง 5 ชนิดนี้ ต้องเขียนกำกับไว้หน้าและตำแหน่ง เดียวกันกับตัวโน้ต เช่น ตัวโน้ตคาบอยู่บนเส้นที่ 2 เครื่องหมายแปลงเสียงต้องอยู่หน้าตัวโน้ตบนเส้นที่ 2 เช่นกัน
  • เครื่องหมายแปลงเสียงมีผลบังคับตัวโน้ตนั้น ๆ ภายใน 1 ห้องเพลงเท่านั้นยกเว้น เขียนกำกับไว้หลังกุญแจประจำหลัก

ผู้จัดทำ นาย สุชาติ  ภูต้อม  ขอขอบคุณครับ

ตัวโน๊ตดนตรี






ตัวโน๊ตดนตรี


เป็นระบบการบันทึกแทนเสียงดนตรีที่มีมาตั้งศตวรรษที่11 โดยกีโด เดอ อเรซ์โซ บาทหลวงชาวอิตาเลียน ต่อมาได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งสมบูรณ์อย่างที่เราได้พบเห็นและใช้กันในปัจจุบัน ตัวโน้ตสามารถบอกหรือสื่่อให้นักดนตรีทราบถึงความสั้น–ยาว, สูง-ต่ำ ของระดับเสียงได้ เราจึงควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะของตัวโน้ตดนตรี(Music Notation) พอสังเขปดังนี้


 


จากข้างต้นสามารธอธิบายได้ว่า
โน้ตตัวกลม1ตัวได้ตัวขาว 2 ตัว หรือได้ตัวดำ 4 ตัว
โน้ตตัวขาว 1 ตัวได้ตัวดำ 2 ตัว
โน้ตตัวดำ 1 ตัวได้ตัวเขบ็ตหนึ่งชั้น 2 ตัว
โน้ตตัวเขบ็ตหนึ่งชั้น 1 ตัวได้ตัวเขบ็ตสองชั้น 2 ตัว

หมายเหตุ 

1.การเขียนโน้ตตัวเขบ็ต()ตั้งแต่สองตัวติดกันขึ้นไปเรามักเขียนโดยนำชายธง(flag)มารวมกันโดยใช้เส้นตรงเช่น





2.การเขียนโน้ตตัวดำ,ตัวขาวและตัวเขบ็ต()ให้พึงสังเกตเสมอว่าถ้าหางของตัวโน้ตชี้ขึ้นหางอยู่ทางด้านขวา แต่ถ้าหางชี้ลงหางจะลงทางซ้ายมือ สำหรับโน้ตตัวเขบ็ตหางจะชี้ขึ้นหรือลงชายธงอยู่ทางด้ายขวาเสมอ






3. การที่จะกำหนดให้ตัวโน้ตหางชี้ขึ้นหรือลงให้ยึดเส้นที่3ของบรรทัด5เส้น(Staff)เป็นหลัก กล่าวคือตัวโน้ตที่คาบอยู่เส้นที่3และต่ำลงมาหางตัวโน้ตจะต้องชี้ขึ้น ส่วนโน้ตที่คาบอยู่เส้นที่3หรือสูงขึ้นไปหางตัวโน้ตจะต้องชี้ลง สำหรับโน้ตที่คาบอยู่เส้นที่3เองนั้นหางจะขึ้นหรือลงก็ได้ให้ยึดตัวโน้ตที่อยู่ภายในห้องหรือโน้ตที่อยู่ข้างเคียงเป็นหลัก ดังตัวอย่าง


ผู้จัดทำ นายสุชาติ  ภูต้อม  ขอขอบคุณครับ

เครื่องเป่าทองเหลือง


จากที่ได้ศึกษามา   วันนี้ จะนำเสนอเกี่ยวกับ  เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทองเหลืองที่ยังใช้ในปัจจุบันกันนะครับ  ว่ามีอะไรบ้าง

เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทองเหลืองที่ยังใช้ถึงปัจจุบัน

  1. เฟรนช์ฮอร์น (อังกฤษFrance horn) ปัจจุบันเรียกว่า “ฮอร์น” ต้นกำเนิดของฮอร์นคือเขาสัตว์ เฟรนช์ฮอร์น เป็นแตรที่มีช่วงเสียงกว้างถึง 3 ออคเทฟครึ่ง มีท่อยาวประมาณ 12-15 ฟุต แต่นำมาขดเป็นวงโค้งไปมา เพื่อให้สะดวกแก่ผู้เป่าจนเหลือความยาวจากปากเป่าถึงปากลำโพงเพียง 20 นิ้ว เสียงของเฟรนซ์ฮอร์น มีความสดใส สง่า จัดได้ว่าเป็นพระเอกในบรรดาเครื่องลมทองเหลือง
  2. ทรอมโบน (อังกฤษTrombone) เครื่องลมทองเหลืองมีคันชักโค้งเป็นรูปตัวยู (U-shape) สำหรับเปลี่ยนความยาวของท่อลม ตำแหน่งของการเลื่อนคันชักจะมีอยู่ทั้งหมด 7 ตำแหน่ง ให้ระดับเสียงดนตรีต่างกันออกไป ทรอมโบนมีเสียงทุ้ม ห้าว ไม่สดใส เหมือนทรัมเป็ต
  3. ทรัมเป็ต (อังกฤษTrumpet) ในสมัยโบราณยุโรปถือว่าทรัมเป็ตเป็นเครื่องดนตรีของชนชั้นสูง ประชาชนสามัญไม่มีสิทธิ์เป็นเจ้าของ กำพวดของทรัมเป็ตเป็นกำพวดรูปถ้วยหรือระฆัง ทำให้ออกเสียงได้ดีทั้งเสียงต่ำและเสียงสูง เป็นท่อโลหะ ปลายบานคล้ายรูปถ้วย ท่อลม ทรัมเป็ตกลวงยาวเท่ากันปลายจะบานออกเป็นลำโพง ทรัมเป็ทมีลูกสูบ 3 สูบ สำหรับใช้เปลี่ยนความยาวของท่อลม
  4. คอร์เนต (อังกฤษCornet) คอร์เนตคือเครื่องเป่าทองเหลืองที่มีลักษณะคล้ายกับทรัมเป็ต แต่ลำตัวสั้นกว่า ถูกนำมาใช้ในวงออร์เคสตร้าครั้งแรกประมาณ ค.ศ. 1829 ในการแสดงโอเปร่าของ Rossini เรื่อง William Tell ในปัจจุบันคอร์เน็ตเป็นเครื่องดนตรีสำคัญสำหรับวงโยธวาทิตและแตรวง
  5. ฟลูเกิลฮอร์น (อังกฤษFlugelhorn) มี 3 ลูกสูบ ท่อลมกลวงเป็นรูปกรวยปลายบานเป็นลำโพงรูปร่างค่อนข้างจะใหญ่กว่าคอร์เน็ต ลักษณะของเสียงจะคล้ายกับฮอร์น แต่มีความห้าวมากกว่าฮอร์น
  6. ยูโฟเนียม (อังกฤษEuphonium) ยูโฟเนียมมาจากภาษา กรีกหมายถึง “เสียงดี” เสียงของยูโฟเนียมจะนุ่มนวล ทุ้มลึก และมีความหนักแน่นมาก สามารถเล่นในระดับเสียงต่ำได้ดีบางครั้งนำไปใช้บรรเลงในวงออร์เคสตราแทนทูบา
  7. ทูบา (อังกฤษTuba) เป็นเครื่องดนตรีตระกูลแซกฮอร์น พัฒนาการมาจากการเป่าเขาสัตว์และการเป่าสังข์ เสียงของทูบาต่ำลึกนุ่มนวล ไม่แตกพร่า เสียงต่ำมากที่เรียกว่า “เพดัลโทน” (Pedal tones) นั้นมีคุณสมบัติเฉพาะตัว ปกติทูบาทำหน้าที่เป็นแนวเบส ให้แก่กลุ่มเครื่องลมทองเหลือง
  8. ซูซาโฟน (อังกฤษSousaphone) เป็นเครื่องดนตรีที่ จอห์น ฟิลิป ซูซา (Johe Philip Sousa,1854-1932)ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้แทนทูบา เพื่อให้ง่ายแก่การเดินสนาม สุ้มเสียงของซูซาโฟน มีเสียงแบบเดียวกับทูบา ฉะนั้นจึงใช้แทนกันได้ แต่มีลักษณะพันรอบตัว และมีน้ำหนักมากกว่าทูบา                                                                                                                                                                                          อาจมีบางเนื้อหาข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ต้องขออภัยไว้ด้วยนะครับ  จาก  นายสุชาติ  ภูต้อม  ขอบคุณครับ


เปียโน

Steinway Vienna 011.JPG

มาทำความรู้จักเปียโนกันนะครับว่าคืออะไร
เปียโน เป็นเครื่องดนตรีขนาดใหญ่ที่สร้างเสียงเมื่อคีย์ถูกกดและกลไกภายในเครื่องตีสาย คำว่าเปียโนเป็นตัวย่อของคำว่า ปีอาโนฟอเต(pianoforte)-ออกเสียงว่า (ปี-อ๊า-โน่-ฟอ-เต้) ซึ่งเป็นคำภาษาอิตาเลียนที่แปลว่า "เบาดัง" มาจากความสามารถของเปียโนที่จะปรับความดังเบาตามแรงที่กดคีย์
ในฐานะเครื่องสาย เปียโนมีความคล้ายคลึงกับคลาวิคอร์ด (clavichord) และฮาร์ปซิคอร์ด (harpsichord) จะแตกต่างกันเพียงวิธีการสร้างเสียง สายฮาร์พซิคอร์ดจะถูกดีดหรือเกาโดยขนนก ส่วนสายของคลาวิคอร์ดจะถูกเคาะด้วยกลไกที่จะยังคงสัมผัสกับสายอยู่ตลอดเวลาหลังการเคาะ เพื่อบังคับความถี่ของการสั่น ส่วนสายเปียโนถูกเคาะด้วยลิ่มที่สะท้อนกลับในทันที เพื่อให้เกิดการสั่นของสายอย่างเป็นอิสระ
เปียโนเป็นเครื่องดนตรีที่ำสำคัญในดนตรีคลาสสิกตะวันตก ดนตรีแจ๊ซ ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ และดนตรีอีกหลายรูปแบบ เปียโนยังเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่ชนชั้นกลางและชนชั้นสูง  
ต่อไปเรามาดูประเภทของเปียโนกันนะครับว่ามีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ประเภทเปียโน

เปียโนในปัจจุบันมีรูปแบบสองรูปแบบ คือเปียโนตั้งตรงและแกรนด์เปียโน
แกรนด์เปียโน(Grand)เป็นเปียโนที่มีสายและโครงวางในแนวนอน โดยที่สายเสียงนั้นจะถูกขึงออกจากคีย์บอร์ด ซึ่งทำให้มีเสียงและลักษณะที่ต่างออกไปจากเปียโนตั้งตรงแต่จะใช้ที่ทางมาก ทั้งยังจำเป็นต้องหาห้องที่มีการสะท้อนเสียงที่พอเหมาะสำหรับคุณภาพเสียงที่ดีที่สุด ในบรรดาแกรนด์เปียโนเองยังมีหลายขนาดและประเภท ซึ่งอาจจะแตกต่างกันตามผู้ผลิตหรือรุ่น แต่ก็ยังสามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ เช่น คอนเสิร์ตแกรนด์ ที่มีขนาดประมาณ 3 เมตร แกรนด์ ที่มีขนาดประมาณ 1.8 เมตร หรือ เบบี้แกรนด์ ที่มักจะสั้นกว่าความกว้าง. เปียโนที่มีความยาวจะสร้างเสียงที่ดีกว่าและเพี้ยนน้อยกว่าเปียโนเครื่องอื่นๆ แกรนด์เปียโนใหญ่จึงเป็นที่นิยมใช้ในคอนเสิร์ต
อัพไรท์เปียโน(Upright)เป็นเปียโนที่มีสายและโครงวางในแนวตั้ง และขึงสายเปียตั้งแต่ด้านล่างจนถึงด้านบนของเปียโน แต่เปียโนประเภทนี้ไม่สามารถควบคุมการสร้างเสียงได้นุ่มนวลเท่าแกรนด์เปียโน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเทคโนโลยีเปียโนตั้งตรงได้พัฒนาคุณภาพเสียงมากขึ้น โดยการปรับปรุงโครงสร้างภายในให้ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ทำให้ได้คุณภาพเสียงที่ดีขึ้นโดยใช้พื้นที่ในการตั้งวางน้อยกว่าแกรนด์ แต่ให้เสียงที่ใกล้เคียงมากขึ้น
ในปี ค.ศ. 1863 เฮนรี ฟอร์โนว์ (Henry Fourneaux) ประดิษฐ์เปียโนที่สามารถเล่นตัวเองได้ (player piano) โดยใช้ม้วนเหล็กที่เดินเครื่องกลในตัวเปียโน
ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เริ่มมีการผลิตเปียโนดิจิตัลขึ้นใช้ โดยเลียนแบบเสียงของเปียโน เปียโนประเภทนี้เริ่มที่จะมีความซับซ้อนและการทำงานที่มากขึ้น โดยสามารถเลียนแบบชิ้นส่วนของเปียโนจริง เช่น น้ำหนักคีย์บอร์ด คันเหยียบ และเสียงเครื่องดนตรีอื่น อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีปัจจุบันยังไม่สามารถที่จะทดแทนเปียโนเครื่องจริง   ครับหวังว่าคงได้รับข้อมูลไม่มากก็น้อยนะครับ
เพื่อเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้ศึกษานำไปปรับใช้ต่อไป  ขอบคุณครับ